ภูตผีปีศาจของไทย เดอะ ซีรี่ส์ : เหม เวชกร : ปีศาจของไทย ตอน-19 อ้ายทุยผู้ซื่อสัตย์





1 เข้าชม
Published
ภูตผีปีศาจของไทย เดอะ ซีรี่ส์ : เหม เวชกร

เหม เวชกร ...จะนับว่าเป็นบรมครูศิลปะแห่งรัตนโกสินทร์อีกผู้หนึ่งก็ว่าได้ ทั้งที่ไม่เคยร่ำเรียนศิลปะจากสถาบันใดๆทั้งสิ้น แต่กลับสร้างผลงานจนเป็นที่ประจักษ์

ว่ากันว่า ในวงการหนังสือช่วง พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ศิลปินช่างเขียนปกและภาพประกอบระดับแนวหน้ามีเพียง ๒ คน หนึ่งในนั้นคือ เหม เวชกร

เหม เวชกร...เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2446 ที่บ้านในตำบลพระราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ปฐม (หุ่น) ทินกร มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ

ครั้นพ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับหม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ผู้เป็นลุง ทำให้มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วยให้กับคาร์โล ริโกลี จิตรกรชาวอิตาลีผู้เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นคนสอนให้หัดวาดเส้น และลวดลายต่าง ๆ

จิตรกรชาวอิตาเลียนรู้สึกชอบพอในอัธยาศัยและฝีมือของเหมมาก ถึงขนาดชักชวนให้ไปเรียนต่อทางศิลปะที่อิตาลี โดยลุงผู้อุปการะในเวลานั้นได้ตอบอนุญาตแล้ว แต่เมื่อความรู้ถึงบิดา กลับให้คนมาลักพาตัวไปเสียก่อนถึงวันเดินทาง

ผลงานของ เหม เวชกร ส่วนใหญ่เป็น ‘ภาพประดับ’ หรือ illustration บ้างเป็นภาพปกหนังสือ บ้างเป็นภาพประกอบเรื่อง

ภาพวาดของเขาอยู่ตั้งแต่หน้าปกจนถึงเนื้อใน นิยายประโลมโลกย์ หนังสือเรียน นิตยสาร นิทาน จนถึงหนังสือพุทธประวัติ

เหม เวชกร เขียนเรื่องผีและภาพประกอบชุด “ผีไทย” กว่าร้อยเรื่อง ซึ่ง เหม เขียนตั้งแต่สมัยอยู่คณะเพลินจิตต์ จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๑๐

ส่วนการเขียนภาพ เหม ไม่เคยหยุดเขียน แม้ในขณะที่นอนป่วย

และเเล้ววันเวลาสุดท้ายที่ เหม เวชกร จะต้องละวางพู่กัน ก็มาถึง เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๒ เหม เวชกร หยุดวาดรูปและหยุดหายใจ ขณะมีอายุ ๖๖ ปี

’รงค์ วงษ์สวรรค์ ตำนานนักเขียนไทยผู้มีสายตาอันแหลมคมเขียนไว้ในหนังสืองานศพ ครูเหม

‘…ข้าพเจ้ารู้เพียงว่า บุคคลที่ข้าพเจ้ามีบุญตาได้บันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม เป็นคนดี เป็นครู และเป็นจิตรกรผู้สูงส่ง’

“Hem Vejakorn Will Thailand ever find another Hem?”
คือ คำถามที่ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งเป็นนักหนังสือพิมพ์หนุ่มเขียนทิ้งไว้ในบทความ ‘Elegy for an artist’ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2512 (หลังจาก เหม เวชกร เสียชีวิต 4 วัน)

ด้วยกฏหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์งานเขียนที่ว่าด้วยอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์งานเขียนจะมีตลอดอายุของนักเขียนผู้นั้นนับแต่สร้างสรรค์ผลงาน และต่อไปอีก 50 ปี นับแต่นักเขียนผู้นั้นเสียชีวิต

Legendary Fiction กราบขออนุญาตทายาทผู้เกี่ยวข้องบรมครู เหม เวชกร เพื่อนำผลงานเรื่องสั้นเขย่าขวัญ สั่นประสาท ที่ถ่ายทอดบรรยากาศออกมาได้อย่างละเมียดละไม จนกลายเป็นผลงานระดับขึ้นหิ้งของวงการเรื่องผีไทย มาถ่ายทอดเพื่อเป็นการเชิดชูผลงานของบรมครูผู้รังสรรค์ผลงานระดับตำนาน ไว้ ณ ที่นี้

#เรื่องหลอน #ผี #นิยายผี
หมวดหมู่
Film
แท็ก
นิยาย, นิยายเสียง, นิยายป่า
เข้ามาเป็นคนแรกสำหรับการแสดงความเห็นวิดีโอนี้